Popular Posts

Wednesday, March 6, 2013

โรคนิ่วมีวิธีการรักษาอย่างไร


โรคนิ่วมีวิธีการรักษาอย่างไร

โรคนิ่วทางเดินปัสสาวะ เกิดจากร่างกายสร้างก้อนนิ่วแล้วอุดตันหรือติดค้างในระบบทางเดินปัสสาวะในระดับต่างๆ กัน เป็นต้นว่า
นิ่วในไต พบได้ที่กลีบไตหรือกรวยไต ขนาดอาจเล็กเท่าเม็ดถั่วหรือขนาดอาจโตมาก และแตกแขนงเป็นกิ่งหรือเหมือนเขากวาง
นิ่วในท่อไต พบได้ตลอดความยาวของท่อไต ขนาดตั้งแต่ 2 – 3 ม.ม. จนถึง 1 – 2 ซ.ม.
นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ พบได้ในขนาดเล็กเท่าเม็ดถั่วจนถึงขนาด 1 – 2 กิโลกรัม
นิ่วในท่อปัสสาวะ

สาเหตุ

ตามที่ได้กล่าวมาคือ นิ่วเกิดจากร่างกายสร้างก้อนนิ่วแล้วอุดตันหรือติดค้างในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งก้อนนิ่วแต่ละชนิดประกอบด้วยสาร 1 – 3 ชนิด จับรวมกันเป็นผลึกนิ่ว และเรียกชื่อตามสารที่เป็นสารประกอบนั้น ๆ เช่น ก้อนนิ่วแคลเซี่ยม-ออกซาเลจ ก้อนนิ่วยูริก้า เป็นต้น
อาการของโรค – อาการสำคัญที่เกิดจากก้อนนิ่วอุดตันในทางเดินปัสสาวะ ได้แก่   อาการปวดท้องบริเวณเอวหรือสีข้าง ลักษณะปวดบิดหรือปวดแน่นเป็นระยะ ๆ อย่างรุนแรง ในบางคนอาจปวดร้าวมาที่ท้องน้อย อัณฑะ หรือต้นขาด้วย อาการปวดนี้เกิดจากก้อนนิ่วอุดตันทำให้น้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในท่อที่อยู่เหนือการอุดตันนั้น มีผลทำให้เกิดท่อไตโป่งพอง ไตบวม และ ปวดตรงเอวจากไตบวมนี้
อาการคลื่นไส้ อาเจียน มักจะเกิดร่วมกับอาการปวดท้อง บางคนรู้สึกหน้ามืด ใจสั่นจะเป็นลม

ปัสสาวะสีเข้ม สีเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือสีแดงเพราะมีเลือดปน เป็นผลจากก้อนนิ่วกรีดทำลายเนื้อเยื่อบุท่อ
อาการไข้ จากการอักเสบติดเชื้อ

ปัสสาวะมีเม็ดทราย เม็ดนิ่ว หลุดปนออกมา
ปัสสาวะสะดุด เหมือนมีอะไรค้างในท่อปัสสาวะ และปวดในท่อ
การรักษา

การรักษามีหลายวิธี แพทย์จะพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลเรื่องขนาดของนิ่ว ตำแหน่งของนิ่ว ความแข็งของนิ่ว ไตบวมมากหรือน้อย การอักเสบของไตเป็นต้น   เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในแต่ละราย   บางท่านอาจจะเหมาะสมที่จะรักษาด้วยการสลายนิ่ว   แต่บางท่านไม่เหมาะสมที่จะสลายนิ่ว อาจรักษาได้ด้วยวิธีอื่น ๆ ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อนจะได้เข้าใจถึงเหตุผลที่แพทย์เลือกวิธีนั้น ๆ ในการรักษา

การรักษาทางยา เหมาะในรายที่เป็นนิ่วขนาดเล็กในไตหรือท่อไต ลักษณะกลม เรียบ มีอาการปวดไตน้อย ไม่อักเสบรุนแรง
การรักษาด้วยการสลายนิ่วด้วยเครื่อง SHOCKWAVE เหมาะสำหรับนิ่วในไต หรือ ท่อไตขนาดปานกลาง โตประมาณ 2 – 3 เซนติเมตร
การรักษาด้วยการใช้กล้องส่อง เข้าไปคีบ ขบ กรอนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วในกระเพาะปัสสาวะและท่อไต ผู้ป่วยไม่มีแผลผ่าตัด   สามารถสอดกล้องเข้าไปตามท่อปัสสาวะได้เลย

การรักษาด้วยการเจาะสีข้างเข้าไปในไตเพื่อส่องกล้องและกรอนิ่ว เหมาะสำหรับนิ่วขนาดปานกลาง และโตแบบไม่แตกแขนง
การรักษาด้วยการผ่าตัด เหมาะสำหรับนิ่วขนาดใหญ่ เช่น นิ่วเขากวางในไต นิ่วในท่อไตที่ติดแน่น ผู้ป่วยที่มีอาการอักเสบรุนแรงซึ่งต้องรีบขจัดนิ่วออก ผู้ป่วยที่มีไตเสื่อมมากแล้ว เป็นต้น

No comments:

Post a Comment