Popular Posts

Wednesday, March 6, 2013

วิธีการรักษาสิวหัวช้าง


วิธีการรักษาสิวหัวช้าง

สิวหัวช้างเป็นสิวอักเสบอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าสิวอักเสบทั่วไป ถ้าอักเสบมากๆบางครั้งอาจกลายเป็นฝีได้ การอักเสบของสิวหัวช้างมีทั้งแบบรุนแรงน้อยไปถึงขั้นมีการอักเสบแบบรุนแรงมาก สิวหัวช้างอาจกลายเป็นสิวหัวหนองเม็ดใหญ่ได้ สิวหัวช้างเมื่อยุบตัวลงบริเวณที่เป็นสิวหัวช้างจะเกิดเป็นรอยสีดำเพราะเซลล์ส่วนที่อักเสบเป็นเซลล์ที่ตาย เวลาผ่านไประยะหนึ่งรอยสีดำนี้ก็จะค่อยจางหายไป บางครั้งอาจเป็นรอยแผลเป็น

สิวหัวช้างส่วนมากไม่มีหัวแต่ภายในสิวหัวช้างจะมีน้ำหนองปนเลือดที่เสีย สิวหัวช้างมีลักษณะปูดบวมมีขนาดใหญ่ตอนแรกจะเป็นสีแดง ผ่านไปสัก2-3วันจะค่อยๆกลายเป็นสีคล้ำ บางครั้งอาจปวดระบมมาก

การดูแลป้องกันเพื่อลดการเกิดสิวเบื้องต้น
1. ควรทำความสะอาดใบหน้าด้วยสบู่เหลวอ่อนๆ
2. .ในกรณีที่ผิวหน้ามัน ควรใช้กระดาษซับไขมันออก
3. ก่อนนอนไม่ควรใช้สารเคมีควรล้างหน้าให้สะอาด
4. ไม่ควรถูหน้าแรงๆในขณะที่ล้างหน้าเพราะอาจทำให้เกิดสิวอักเสบได้

5. พักผ่อนให้เพียงพอ
6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณไขมันมากๆ
7. ไม่ควรให้ท้องผูกควรทานผักและผลไม้ประจำ
 สิวเป็นความผิดปกติบริเวณผิวหนังที่พบบ่อย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะที่ใบหน้าเท่านั้น บริเวณลำตัวก็พบได้เช่นกัน สาเหตุของสิวได้แก่ การอักเสบของต่อมสร้างไขมันบริเวณของรูขุมขนที่มีอยู่ทั่วไปตามผิวหนังของคนเรา ต่อมสร้างไขมันบริเวณรูขุมขนนี้มีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่บางครั้งก็มีการสร้างไขมันมากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขน และเกิดการอักเสบ ต่อมาเมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้ามา จะทำให้เกิดการติดเชื้อเป็นหัวสิวหรือตุ่มหนอง เหมือนที่เราเห็นโดยทั่วไป

สิวแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
สิวไม่อักเสบ ได้แก่ สิวหัวปิดหรือสิวหัวขาว จะเห็นเป็นตุ่มเล็กๆ ขาวๆ ไม่มีรูเปิด ถ้ามีรูเปิดที่ผิวหนัง มองเห็นเป็นจุดดำอยู่ตรงกลาง เรียกว่า สิวหัวเปิดหรือสิวหัวดำ
สิวอักเสบ เนื่องจากติดเชื้อแบคทีเรีย คือสิวที่หัวแดงๆ หรือเป็นหนองเม็ดโตๆ เช่นที่เรียกกันว่า “สิวหัวช้าง”
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสิว
1. ปริมาณไขมันที่สร้างจากต่อมไขมัน
การอักเสบของต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนที่มีอยู่ตามผิวหนังของคนเราเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดสิว ต่อมไขมันบริเวณรูขุมขนมีหน้าที่สร้างไขมันมาหล่อเลี้ยงผิวหนัง ทำให้ผิวหนังไม่แห้ง มีความชุ่มชื้น แต่บางครั้งก็สร้างไขมันออกมามากเกินไป ทำให้คั่งค้างอยู่ในรูขุมขนและเกิดการอักเสบ หากติดเชื้อแบคทีเรียด้วย ก็จะทำให้เป็นหัวสิวหรือตุ่มหนอง
2. ความผิดปกติของเซลล์ในชั้นหนังกำพร้า
พบว่าหากเซลล์ในชั้นหนังกำพร้ามีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ และลอกหลุดออกง่ายกว่าปกติ อาจเกิดการอุดตันของรูขุมขนจนเกิดเป็นสิวขึ้นมาได้
3. เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Propionibacterium acnes หรือ P.acnes
ในระยะแรกที่เกิดหัวสิว มักจะตรวจไม่พบเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว แต่ในระยะท้ายๆ หรือระยะที่มีอาการอักเสบจะตรวจพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทุกราย แต่ละคนจะมีความไวต่อเชื้อแบคทีเรีย P.acnes ไม่เหมือนกัน คนที่ไวมาก อาการก็จะรุนแรงมาก การรักษาสิวโดยใช้ยาปฏิชีวนะจึงไม่ได้ผลดีกับทุกราย
การดูแลเมื่อเป็นสิว
ควรล้างหน้าด้วยสบู่อ่อนๆ วันละสองครั้ง (ถ้าใบหน้ามันมากอาจใช้กระดาษซับหน้าในตอนกลางวัน)
ไม่ควรกดหรือบีบหัวสิว เพราะจะทำให้สิวเกิดการอักเสบมากขึ้น
ควรใช้เครื่องสำอางชนิดที่ได้มาตรฐาน ผ่านการทดสอบแล้วว่าไม่ก่อสิว
รับประทานอาหารได้เป็นปกติ นอกจากบางรายที่มีประวัติแน่ชัดว่า สิวเป็นมากขึ้นเมื่อทานอาหารบางประเภท
พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การรักษาสิว
ใช้ยาทาเฉพาะที่หรือรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
ใช้เครื่องมือกดสิวช่วย กรณีเป็นสิวอุดตันมาก
กรณีที่เป็นสิวหัวใหญ่ ควรไปให้แพทย์ฉีดยาลดอาการอักเสบเข้าหัวสิว จะช่วยให้สิวยุบลงเร็วขึ้น
สาเหตุของการเกิดแผลเป็นที่เกิดจากสิว           แผลเป็นจากสิวนั้นเกิดเพราะการอักเสบของสิวที่เป็นปฏิกิริยาแบบเดียวกับการเป็นฝีหนอง ซึ่งมักจะทิ้งแผลเป็นไว้เสมอ หากปล่อยให้อักเสบนานๆ หรือทิ้งไว้ให้อักเสบมากๆ โดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือทำการบีบ แกะเกา จะยิ่งทิ้งรอยมากยิ่งขึ้น
โดยทั่วไปแผลที่เกิดจากสิวแบ่งได้ 3 แบบ คือ
1. แบบที่เป็นรอยบุ๋มลงไป ซึ่งเป็นแบบที่พบเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากขบวนการอักเสบของสิวจะทำลายเนื้อเยื่อ คอลลาเจนในชั้นหนังแท้ ทำให้เป็นรอยบุ๋ม
2. แบบที่เป็นเนื้อนูนขึ้นมา มักพบที่จมูก คาง และบริเวณขากรรไกร เนื่องจากขบวนการอักเสบของสิวจะทำลายเนื้อเยื่อในชั้นหนังแท้ แต่มีการซ่อมแซมของผิวมากกว่าปกติ ทำให้เนื้อนูนขึ้นมากกว่าปกติ
3. แบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี ซึ่งพบบ่อยมาก มักมีสีออกแดงคล้ำๆ อาจเรียกว่ารอยแดง ไม่ได้เป็นสีดำล้วนแบบกระหรือฝ้า ซึ่งมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน
วิธีการรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิว
1. การรักษารอยแผลเป็นที่เกิดจากสิวแบบที่เป็นรอยบุ๋มลงไป
กรณีที่มีรอยบุ๋มเล็กๆ เป็นจุดๆ ประมาณไม้จิ้มฟันนั้น จะรักษาด้วยการใช้น้ำกรดอ่อนๆ แต้มบริเวณที่เป็นรอย ซึ่งควรจะให้แพทย์หรือพยาบาลเป็นผู้แต้มให้ เพื่อกระตุ้นให้ผิวหน้าเกิดการสร้างเนื้อขึ้นมาเสริมบริเวณรอยบุ๋มของแผลเป็นที่เกิดจากสิว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน และต่อเนื่องจึงจะเกิดประสิทธิพล
การรักษาด้วยการยิงแสงเลเซอร์ (Fractional Photothermolysis Laser) เพื่อให้แผลดูตื้นขึ้น ในการรักษาด้วยแสงเลเซอร์แต่ละครั้งจะกระตุ้นให้ผิวหน้าสร้างเนื้อเยื่อขึ้นเสริม โดยอาจต้องทำการรักษาด้วยแสงเลเซอร์หลายครั้งติดต่อกันเพื่อให้การรักษาได้ผลดี
การฉีด Hyaluronic Acid เช่น Restylane ซึ่งเป็นสารสกัดที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศไทย โดยจะเสริมเนื้อขึ้นมาบริเวณรอยบุ๋มของแผลเป็น ซึ่งไม่ต้องทำการทดสอบเหมือนการใช้คอลลาเจน
กรณีที่เป็นแผลลึกและใหญ่ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเอาแผลเป็นนั้นออกไป แล้วเย็บแผลให้เรียบร้อยเหมือนการผ่าไฝ หลังจากนั้นอีก 2-3 เดือนถ้ายังมีรอยเย็บอยู่ก็สามารถลบรอยให้ดีขึ้นได้
2. การรักษาแผลเป็นที่เกิดจากสิวแบบที่นูนขึ้นมา
การรักษาด้วยการฉีดยาเพื่อให้แผลเป็นที่นูนนั้นเรียบขึ้น โดยตัวยาที่ฉีดจะทำให้เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติลดจำนวนลง ทำให้แผลยุบตัว อาจต้องฉีดยาอย่างต่อเนื่องหลายครั้งจนกว่าแผลจะยุบ
การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ Laser Resurfacing วิธีการรักษาแบบนี้เหมาะสำหรับแผลนูนบริเวณจมูกโดยการใช้แสงเลเซอร์กรอบริเวณแผลเป็นที่เกิดจากสิวที่นูนขึ้นมาให้เรียบ ทำให้ผิวเรียบขึ้น แต่อาจจะมีรอยแดงบริเวณที่รักษาประมาณ 3-6 เดือน
3. การรักษาแผลที่เป็นรอยแดงหรือรอยดำ
วิธีการรับประทานยา ภายใต้การดูแลรักษาของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนัง
การรักษาด้วยการทำ E-laser โดยใช้แสงเลเซอร์ Pulsed dye Laser เป็นวิธีที่ไม่เจ็บและใช้เวลาทำไม่นาน สามารถช่วยให้รอยแดงหายเร็วยิ่งขึ้น โดยรอยแดงจะจางประมาณครั้งละ 20-30%
ไอออนโต (Ionto)
ไอออนโตโฟรริซีส หรือที่เรียกย่อๆ ว่า ไอออนโต คือการขับยาหรือวิตามินเข้าไปในผิวหนัง โดยอาศัยเครื่องมือที่ให้กระแสไฟฟ้าปริมาณต่ำๆ เป็นตัวขับยาหรือสารที่มีประจุไฟฟ้า ด้วยวิธีนี้ปริมาณยาจะเข้าไปในผิวหนังได้มากกว่าการทายาหลายเท่า ทำให้เห็นผลในการรักษาเร็วขึ้น
ซึ่งหลังทำไอออนโตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะสังเกตเห็นว่าผิวหน้าจะเป็นสีชมพูระเรื่อ เนื่องจากกระแสไฟฟ้าได้ไปกระตุ้นระบบหมุนเวียนของเลือดบริเวณนั้นได้ดีขึ้น และสามารถสัมผัสได้ว่าผิวหน้าจะนุ่มเนียนขาวใสขึ้น แต่หลังจากทำแล้วควรจะต้องใช้ครีมกันแดด และหลีกเลี่ยงแสงแดดที่แรงจัด และโดยทั่วไปควรทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง

No comments:

Post a Comment